วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ใบบัวบก


ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน และยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ) บราโมไซ บรามิโนไซ มาดิแคสโซไซ(เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไทอะมิน(วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี2) ไพริดอกซิน(วิตามินบี6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ซีริน ทรีโอนีน อลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม

สารไตรเตอพีนอยด์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน(ซึ่งเปรียบเสมือนร่างแหที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ในส่วนต่างๆของร่างกาย และยังเป็นผนังที่หุ้มล้อมรอบหลอดเลือดอีกด้วย) ดังนั้นใบบัวบกจึงสามารถลดความดันเลือดได้เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นเลือด ใบบัวบกจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นเบาหวานเพราะจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนผ่านเส้นเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านเส้นเลือดฝอย จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบวม เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง นอกจากนี้ใบบัวบกทำให้ผิวหนังเต่งตึงและมีความยืดหยุ่นขึ้น ตลอดจนช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นและช่วยในขบวนการหายของแผล เนื่องจากใบบัวบกจะควบคุมไม่ให้เกิดการสร้างคอลลาเจนบริเวณแผลมากจนเกินไป ดังนั้นจึงนิยมนำใบบัวบกไปใช้ในการรักษาแผลต่างๆอาทิเช่น แผลผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง หรือแม้แต่แผลจากโรคเรื้อน

จากการศึกษาผลการใช้ใบบัวบกเพื่อรักษาโรคเรื้อนและวัณโรคที่ผิวหนัง พบว่าสารอะซิเอติโคไซในใบบัวบกสามารถทำลายสารเคลือบผิวที่หุ้มแบคทีเรีย(ปกติภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำลายสารเคลือบผิวตัวนี้ได้) ทำให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปจัดการกับเชื้อแบคทีเรียได้โดยตรง

ใบบัวบกจะช่วยลดขนาดของเส้นเลือดขอด เนื่องจากใบบัวบกจะทำให้คอลลาเจนที่หุ้มรอบเส้นเลือดดำยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนผ่านเส้นเลือดดำเป็นไปได้สะดวกขึ้น

การรับประทานใบบัวบก ไม่ว่าจะเป็นการทานสด เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือคั้นน้ำ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความกังวลและความเครียดได้ เนื่องจากในใบบัวบกประอบด้วยวิตามินบี1,บี2 และบี6 ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายหลั่ง GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในปริมาณที่มากขึ้นด้วย จากการศึกษายังพบว่า การรับประทานใบบัวบกจะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ความจำดีขึ้น และใบบัวบกยังช่วยกำจัดสารพิษซึ่งสะสมในสมองและระบบประสาท ตลอดจนช่วยกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายประเภทโลหะหนักและยาต่างๆได้เป็นอย่างดี

จากอดีตที่ผ่านมีการใช้ใบบัวบกเพื่อรักษาความผิดปกติที่ตับและไต เช่น ตับอักเสบ โรคตับที่เกิดจากการดื่มสุรา ข้ออักเสบ รูมาไทติส รำมะนาด(เหงือกอักเสบ) และจากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้พบว่าในใบบัวบกยังมีสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย จะเห็นว่าผักธรรมดาที่คุณรู้จักกันมานานแล้ว แต่อาจจะมองข้ามไปนั้นมีคุณประโยชน์มากมายไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว

กระดังงา

กระดังงา หรือกระดังงาไทย
(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.)
ชื่ออื่น สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)

เป็นไม้ยืนต้นในตระกูลเดียวกับน้อยหน่าและการเวก สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง กิ่งมักจะลู่ลง

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอม

ลักษณะทั่วไป
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลักษณะการแตกกิ่งก้านลู่ลงข้างล่างบางชนิดก็มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยลำต้นสูงประมาณ


15 - 25 เมตรเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลและสีเาโคนต้นมีปุ่มอยู่เล็กน้อยแตกกิ่งสาขามากมุ่มแน่นใบเป็นใบเดี่ยวออกสบับกันตาม

กิ่งก้าน ลักษณะใบยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรปลายใบแหลมโคนใบมนสอบแหลมขอบใบ

เรียบ สีเขียว ดอกจะออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่งหรือโคนใบมีสีเหลือง กลิ่นหอมแรงดอกหนึ่งจะมี 6 กลีบ ดอกจะแบ่งเป็น2 ชั้นมีชั้น

ละ 3 กลีบ ลักษณะของดอกเรียวยาว ม้วนบิดไปมา ขนาดดอกยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ตรงกลางดอกมีจุดเล็ก ๆ สีขาว
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นกระดังไว้ประจำบ้านจะทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะ กระดัง คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า เสียงดังเหมือนกับนกการะเวกในสมัยพุทธกาล คือมีเสียงดังไพเราะมาก ก้องไกลทั่วสวรรค์ ดังนั้นบางคนจึงเรียกกระดังงาว่า การะเวก

แกงเขียวหวานไก่


เครื่องปรุง

* น้ำพริกแกงเขียวหวาน 1/4 ถ้วยตวง

* เนื้อไก่ 350 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็ก พอดีคำ)

* กะทิ 1 1/4 ถ้วยตวง

* ใบโหระพา 1/4 ถ้วยตวง

* มะเขือเปราะ 2 ลูก (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)

* น้ำุซุปไก่ 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำตาลทรายธรรมดา)

* น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

* พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด (หั่นเฉียง)

* ใบมะกรูด 4 ใบ

วิธีทำทีละขั้นตอน


1. ตั้งกะทิ 1/2 ถ้วยตวง (กระทิส่วนที่เหลือไว้ค่อยใช้ในขั้นตอนต่อไป) บนกระทะจนร้อน (ใช้ไฟปานกลาง) คนจนกระทิเดือดประมาณ 3 - 5 นาที จากนั้นใส่เครื่องแกงเขียวหวานลงไปผัดกับกระทิสักพักจนน้ำกระทิงวดลง จึงเทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อใหญ่

2. นำหม้อใบใหญ่ตั้งไฟปานกลาง ใส่เนื้อไก่และคนประมาณ 2 นาที จากนั้นใส่น้ำปลา, น้ำตาล คนต่อไปอีก 1 นาที ใส่มะเขือเปราะที่หั่นไว้แล้ว ใส่น้ำกระทิที่เหลือและใส่น้ำซุปไก่ ต้มต่อไปสักพักจนเนื้อไก่เริ่มสุก และมะเขือเปราะนิ่ม

3. ใส่ใบมะกรูดและใบโหระพา รอจนเดือด จากนั้นจึงปิดไฟ ตักใส่ถ้วยเสิรฟพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ และพริกน้ำปลา

หมายเหตุ : แกงเขียวหวานนอกจากจะนิยมรับประทานกับข้าวสวยแล้ว ยังนิยมทานกับขนมจีนอีกด้วย . . . (สำหรับ 2 ท่าน)